จุดเด่นของหลักสูตรควบสองปริญญา
เป็นหลักสูตรควบ (ระยะเวลาเรียน 4 ปี) ที่นำ “จุดแข็งของทั้งสองสถาบัน” มาเป็นการสร้างโอกาสให้กับนักศึกษา” มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนด้าน “การจัดการธุรกิจการบิน” ในระดับปริญญาบัณฑิตมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน สร้างบัณฑิตที่มีความเพียบพร้อมเข้าสู่วงการธุรกิจการบินจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่
สถาบันทั้งสองได้ยอมรับในศักยภาพและคุณภาพการศึกษาของกันและกัน และได้จัดทำ “บันทึกความเข้าใจร่วมกัน” โดยให้การยอมรับการเทียบรายวิชา ทั้งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชาแกนและรายวิชาชีพเลือกอื่นๆ ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน เพื่อสร้างโอกาสให้บัณฑิตมีทักษะหลากหลายมากขึ้น ตอบโจทย์การประกอบอาชีพในอนาคต โดยสามารถเลือกอาชีพในลักษณะที่แตกต่างกันควบคู่กันได้
จุดเด่นของหลักสูตรการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต คือ การจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานองค์กรวิชาชีพด้านการบินในระดับสากล ได้แก่ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ICAO สร้างเสริมให้เข้าถึงองค์ความรู้จากสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ0(International0Air0Transport0Association)0หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า IATA สนับสนุนให้มีการฝึกปฏิบัติในเนื้องานที่เน้นทักษะเฉพาะด้าน ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรตามหลักคุณธรรมจริยธรรมและข้อปฏิบัติในวิชาชีพ อาทิ การใช้ความรู้และทักษะตามสถานการณ์ การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารด้านการบิน มีความไวและไหวพริบในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ฝึกปฏิบัติการทำงานภายใต้ภาวะความกดดันและข้อจำกัด การรู้เท่าทันต่อภัยคุกคามการขนส่งทางอากาศและการจัดการความปลอดภัยในปัจจุบัน เป็นต้น
จุดเด่นของหลักสูตรบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ของสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ คือ การจัดการเรียนการสอนที่จังหวัดชุมพร ศูนย์กลางการเดินทางและการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ ที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต มีท่าอากาศยานสำคัญในภาคใต้ตอนบนที่จะพัฒนาไปสู่การเป็น “ท่าอากาศยานนานาชาติ” เชื่อมโยงในระดับภูมิภาค จังหวัดชุมพรอยู่ในเส้นทางการขนส่งระบบรางด้วยรถไฟความเร็วสูง โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวทางเรือ ไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ ตามแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ หลักสูตรควบสองปริญญา จึงเน้นการจัดการเรียนการสอนที่สร้างบัณฑิตให้มีความคิดริเริ่มและสามารถผสมผสานประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่แห่งอนาคต เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว นักศึกษาจะได้รับปริญญาจากทั้งสองสถาบัน คือ ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง จากมหาวิทยาลัยรังสิต และปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นักศึกษาจะมีโอกาสในการเข้าสู่การมีงานทำในการให้บริการผู้โดยสาร0(Passenger0Services)0การอำนวยการ
ด้านการบิน (Flight Operation) การขนส่งทางอากาศ (Cargo Management) รวมทั้งการให้บริการหลายหลากแก่ผู้โดยสาร
ที่จะเดินทางมาทางอากาศด้วยเครื่องบินส่วนตัว (Private Jet) เครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airlines) มาทางบก ด้วยรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) มาทางเรือด้วยเรือด่วนข้ามอ่าวไทย (Express Cruise) ตามโครงการเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามัน และเรือสำราญ (Cruise Ship) เป็นต้น
แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรควบสองปริญญา สามารถทำงานได้หลากหลาย ดังนี้
- งานบริการสายการบินแบบประจำ (ScheduledชAirlines) การบริการการบินเชิงธุรกิจ (Business Aviation) อาทิ แท็กซี่อากาศ การบินส่วนบุคคล
- งานในส่วนของการอำนวยการบิน การปฏิบัติการบินในส่วนปฏิบัติการและการดำเนินงานในท่าอากาศ
ยานและลานจอดอากาศยาน
- งานบริษัทการขนส่งสินค้าทางอากาศ
- งานบริการไปรษณีย์อากาศแบบเบ็ดเสร็จ (Air Courier)
- งานตัวแทนการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Freight Forwarder)
- งานบริษัทบริการการบิน (Ground Handling Agent)
- งานตัวแทนขายสายการบินทั้งไทยและต่างชาติ ณ เมืองต่างๆ (General Sales Agent-GSA)
- งานตัวแทนทางการท่องเที่ยวด้านการขายบัตรโดยสารและการสำรองที่นั่ง (Travel Agency)
- งานจัดทำเว็บไซต์ตัวแทนขายสินค้าทางการท่องเที่ยวออนไลน์ (OTAs-Online Travel Agent)
- งานด้านการตลาดและการขายบัตรโดยสาร/การสำรองที่นั่งสายการบิน
- งานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเดินทางในองค์กรธุรกิจทั่วไป
- งานพิธีการนำเข้า-ส่งออกและสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร เพื่อการจัดแสดงสินค้าระหว่างประเทศ
- งานในภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ และองค์กรการบิน
- งานธุรกิจด้านการบริการและการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางอากาศ และโลจิสติกส์
- เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
- นักวิจัย
- งานประกอบธุรกิจ Startup (ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ
การขนส่งทางอากาศ หรือธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง)
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
รับผู้สมัครที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรอาชีวศึกษา หลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.) และตามประกาศของมหาวิทยาลัยรังสิต
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตร 4 ปี มีหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร 159 หน่วยกิต (53 วิชา + 1 สหกิจศึกษา)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
ตลอดหลักสูตร 340,000 บาท
|