|
ประวัติ
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนภายใต้ชื่ออื่นๆ ในมหาวิทยาลัยรังสิตมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 โดยในระยะเริ่มแรกมีฐานะเป็นเพียงภาควิชาสังกัดอยู่ภายในคณะศิลปศาสตร์ใช้ชื่อว่า “ภาควิชาอุตสาหกรรมบริการ” เปิดสอนใน 2 สาขาวิชาคือสาขา วิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการจัดการโรงแรม
ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยรังสิตมีนโยบายที่จะผลิตบัณฑิตที่เน้นความรู้และทักษะด้านการบริหารเพื่อการจัดการธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยเฉพาะ จึงได้ย้ายภาควิชา "อุตสาหกรรมบริการ" จากคณะศิลปศาสตร์ไปสังกัดคณะบริหารธุรกิจและพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใหม่ 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบริการ เพื่อใช้แทนหลักสูตรเดิมและยกฐานะจากภาควิชาเป็นคณะอุตสาหกรรมการบริการ จนถึงปี พ.ศ. 2545 จึงได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น "วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ" ซึ่งนับเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งจัดรูปแบบการเรียนการสอนวิชาการด้านนี้เป็นคณะ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสามารถตอบ สนองภารกิจหลักของสถาบัน อุดมศึกษาไทยได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ทั้งด้านการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ การทำงานวิจัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ การให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างสม่ำเสมอ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย
ต่อมาในปี 2564 มหาวิทยาลัยรังสิตมีนโยบายให้จัดการเรียนการสอนกีฬาโดยเริ่มจากกีฬากอล์ฟ จึงได้เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเป็น “วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ”
ในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี รวม 7 หลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน (บธ.บ.)
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการ (ศศ.บ.)
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร (ศศ.บ.)
- หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร (ทล.บ.)
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ (หลักสูตรนานาชาติ) (ศศ.บ.)
- หลักสูตรควบ 2 ปริญญา (บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต และ
บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ
ทหารลาดกระบัง)
- หลักสูตรควบ 2 ปริญญา (ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต
และ บริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
ในปีการศึกษา 2565 นอกจาก 7 หลักสูตรในปีการศึกษา 2564 แล้วจะมีหลักสูตรปริญญาตรีวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชากีฬากอล์ฟ และหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมกอล์ฟ รวมทั้งสิ้น 10 หลักสูตรระดับปริญญา นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรระยะสั้นวิชากีฬากอล์ฟ 4 ระดับ : Beginner, Intermediate, Advanced และ Professional อีกด้วย
|
|
ที่ทำการวิทยาลัย
ชั้น 11 อาคารรัตนคุณากร (อาคาร 11) มหาวิทยาลัยรังสิต
52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนพหลโยธิน ตำาบลหลักหก อำาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 4137 – 4142
โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 4136
สัญลักษณ์ประจำวิทยาลัย
ศาลาไทยน้ำต้น
ความหมาย
“น้ำต้น” เป็นคำที่ชาวเหนือใช้เรียกหม้อดินเผามีฝาปิด ใช้สำหรับบรรจุน้ำสะอาดไว้ใช้ดื่มในครัวเรือน หรือวางไว้ใน “เรือนน้ำ” หน้าบ้านพร้อม
กระบวยไม้ “น้ำต้นในเรือนน้ำ” เตรียมไว้เพื่อให้ผู้เดินทางผ่าน ที่กระหายน้ำได้แวะดื่ม แสดงให้เห็นถึงอัธยาศัยไมตรีที่มีต่อผู้มาเยือนเป็นสัญลักษณ์
ของเจ้าของบ้านที่ดี อันเป็นปณิธานของวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ “เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนต้องต้อนรับ”
สีประจำวิทยาลัย
สีเขียวมรกต
อัตลักษณ์ของวิทยาลัย
COTHS - College of Tourism, Hospitality and Sports มีความหมายดังนี้
C = Cognition |
หมายถึง มีองค์ความรู้ (Knowledge) และมีความเข้าใจ (Understanding)
ที่พัฒนาขึ้นมาจากสติปัญญา
|
O = Open-mindedness |
หมายถึง รับฟังและยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง มีทัศนคติที่เปิดกว้าง |
T = Truthfulness |
หมายถึง แสดงความคิดเห็นในส่วนที่เป็นความจริง และให้ข้อมูลที่เป็นความจริง |
H = Honour |
หมายถึง การให้ความเคารพนับถือ ยกย่อง ชมเชย มีคุณธรรม จริยธรรม |
S = Service |
หมายถึง ความมุ่งหวังที่จะปลูกฝังให้ผู้เรียนและทุกคนได้พัฒนาตนเอง อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่มีความเห็นแก่ตัว มีจิตอาสา พร้อมที่จะให้บริการแก่เพื่อนมนุษย์ทุกคน |
|
|