RSU
หน้าแรก
วิสัยทัศน์
พันธกิจ
เป้าประสงค์
เกี่ยวกับวิทยาลัย
หลักสูตร
ปริญญาตรี
+ ท่องเที่ยวและการบริการ
+ โรงแรมและภัตตาคาร
+ ธุรกิจการบินและการขนส่ง
+ ศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร RSU Chef School
+ Hospitality Industry International Programme
หลักสูตรควบสองปริญญา
+ ท่องเที่ยวและการบริการ (มรส.) กับ บริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (สจล.)
+ ธุรกิจการบินและการขนส่ง (มรส.) กับ บริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (สจล.)
บุคลากร
+ โครงสร้างวิทยาลัย
+ ผู้บริหาร
+ สำนักงานเลขานุการวิทยาลัย
เกียรติคุณ
+ งานวิจัย
+ รางวัล
กิจกรรมนักศึกษา
ติดต่อวิทยาลัย
ภัตตาคาร The Atrium

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เทคโนโลยีบัณฑิต (ศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Technology (Culinary Arts and Technology)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ทล.บ. (ศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.Tech. (Culinary Arts and Technology)


จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารเป็นหลักสูตรที่บูรณาการเชิงประยุกต์ โดยนำศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิชาชีพที่ทันสมัยเพื่อให้นักศึกษาเตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพเชฟอย่างเต็มรูปแบบ โดยการเรียนรู้องค์ประกอบของการเป็นเชฟมืออาชีพ และพร้อมเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยตัวเอง

มีการเรียนการสอนในรูปแบบสองภาษา (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) เน้นทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ โดยในภาคปฎิบัติเน้นการทำจริงในห้องปฎิบัติระดับมาตรฐานสากล ถูกต้องตามหลัก GMP (Good Manufacturing Practice) มีการแยกห้องปฎิบัติการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เช่น ห้องเตรียม และตัดแต่งเนื้อสัตว์ (Butcher) ห้องปฏิบัติการอาหารตะวันตก ห้องปฎิบัติการอาหารตะวันออก ห้องปฎิบัติการอาหารฮาลาล และห้องปฎิบัติการเบเกอรี่ นอกจากนี้ยังมีห้อง Auditorium เป็นห้องสาธิตการประกอบอาหารรูปแบบวงกลม สามารถมองเห็น 360 องศา ทำให้สามารถมองเห็นอาจารย์ผู้สอนขณะลงมือปฎิบัติได้จริง พร้อมทั้งมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพียบพร้อมสำหรับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทำทุกอย่างด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความชำนาญ

ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามกลุ่มวิชาเลือกชีพที่สนใจ โดยหลักสูตรมีวิชาเลือกชีพให้นักศึกษาได้เลือกเรียนมากถึง 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีขนมอบ 2) กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารไทย 3) กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารตะวันออก 4) กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารตะวันตก 5) กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารตามคติศาสนาอิสลาม และ 6) กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารสำหรับความต้องการพิเศษทางโภชนาการ เพื่อให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ชอบ พร้อมทั้งสนับสนุนการแข่งขันทักษะ โดยการนำนักศึกษาไปร่วมประลองฝีมือการแข่งขันทักษะด้านอาหารในเวทีระดับสถาบัน ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้มีประสบการณ์ตรง และมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพเป็นที่รู้จักของวงการวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถในถ่ายทอดความรู้ และให้คำแนะนำในการเรียนเพื่อนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างโอกาสให้ได้พบและสัมผัสประสบการณ์กับเชฟมีชื่อมากมาย เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการบริการทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมการยกระดับอุตสาหกรรมการบริการอาหารและเครื่องดื่มให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล

ปรับระยะเวลาการฝึกปฎิบัติงานใหม่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยให้นักศึกษาออกไปฝึกงานในสถานประกอบการหรือสถาบันชั้นนำทั่วโลก ส่งเสริมการไปฝึกงาน ได้ประสบการณ์จริง มีรายได้ และเรียนรู้อาชีพเชฟในต่างประเทศ โดยนักศึกษามีโอกาสได้เดินทางไปฝึกงานทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝน และประสบการณ์รวมถึงเรียนรู้ความหลากหลายของวัฒนธรรมการทำงานในประเทศต่าง ๆ

แนวทางการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร สามารถทำงานได้หลากหลาย ดังนี้
  1. ผู้ประกอบอาชีพเชฟ รับผิดชอบการบริการและการผลิตอาหารในครัว ดูแลกำกับขั้นตอนการเตรียมอาหาร จัดวาง ระเบียบ กำหนดหน้าที่และควบคุมการทำงานของพนักงาน รวมทั้งควบคุมต้นทุนการผลิตอาหาร
  2. ผู้ประกอบอาชีพด้านการโรงแรม ที่พักแรม
  3. ผู้ประกอบธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยว หรือประชาชนทั่วไป ทั้งในรูปแบบให้ผู้บริโภคได้รับประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ หรือในรูปแบบให้บริการบรรจุอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคนำรับประทานที่อื่นได้
  4. ผู้ประกอบธุรกิจงานด้านการจัดกิจกรรมพิเศษ เพื่อรองรับกลุ่มลูกต้าที่ต้องการความสะดวกสบายในการจัดเลี้ยง เทศกาล และโอกาสอื่น ๆ
  5. ผู้ประกอบการด้านอาหารในหน่วยงาน และสถานประกอบการ
  6. นักพัฒนาอาหารและผลิตภัณฑ์ ทำหน้าที่ค้นคว้า และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงสินค้าที่มีอยู่แล้วให้มีคุณภาพหรือมูลค่ามากขึ้น และสามารถแข่งขันในตลาดได้ รวมไปถึงการศึกษาเพื่อสร้างสินค้าใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

รับผู้สมัครที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรอาชีวศึกษา หลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.) และตามประกาศของมหาวิทยาลัยรังสิต

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตร 4 ปี มีหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต












ติดตามรายละเอียด
@rsuchef



แผนการศึกษา
หน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต


ชั้นปีที่ 1(39 หน่วยกิต)
ภาคการศึกษา S
RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย
ENL 125 ภาษาอังกฤษเพื่อทัศนาโลก
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 1 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)

ภาคการศึกษา 1
CAT 112 แนวโน้มอาหารโลก
CAT 113 ความรู้และการจัดการเกี่ยวกับวัตถุดิบและเครื่องมือ
CAL 113 ปฎิบัติการความรู้และการจัดการเกี่ยวกับวัตถุดิบและเครื่องมือ
MAT 117 คณิตศาสตร์สำหรับสำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ENL 126 ภาษาอังกฤษในบริบทของเทคโนโลยีการบันเทิงและ การออกแบบ
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 5 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
RSU 112 กีฬาเพื่อสุขภาพ

ภาคการศึกษา 2
CAT 121 องค์ประกอบอาหารและโภชนาการ
CAT 216 การเตรียมและอบ พาย เค้ก และผลิตภัณฑ์ขนมอบ
CAL 216 ปฏิบัติการ การเตรียมและอบ พาย เค้ก และผลิตภัณฑ์ขนมอบ ร์
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 2 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 3 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
ชั้นปีที่ 2(42 หน่วยกิต)
ACC 222 การบัญชีสำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
CAT 114 การคัดสรร การเตรียม การปรุงเนื้อสัตว์และอาหารทะเล
CAL 114 ปฏิบัติการการคัดสรร การเตรียม การปรุงเนื้อสัตว์และ อาหารทะเล
CAT 215 น้ำสต๊อก ซุป ซอส สลัด และอาหารว่าง
CAL 215 ปฏิบัติการ การเตรียมน้ำสต๊อก ซุป ซอส สลัด และอาหารว่าง
CAT 122 สุขาภิบาลและความปลอดภัยอาหาร
CAT 219 การจัดการครัว และการควบคุมต้นทุน
ENL 127 ภาษาอังกฤษในการทำงาน
XXX xxx วิชาเลือกทางภาษา 1

ภาคการศึกษา 2
ITE 100 การรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ
CAT 221 การจัดการวัตถุดิบและการแปรรูปอาหารสำหรับงานครัว
CAL 221 ปฏิบัติการการถนอมและการแปรรูปอาหารสำหรับงานครัว
CAT 311 ศิลปะการประกอบอาหารไทย
CAL 311 ปฏิบัติการศิลปะการประกอบอาหารไทย
CAT 312 ศิลปะการประกอบอาหารตะวันออก
CAL 312 ปฏิบัติการศิลปะการประกอบอาหารตะวันออก
CAT 313 ศิลปะการประกอบอาหารตะวันตก
CAL 313 ปฏิบัติการศิลปะการประกอบอาหารตะวันตก
HOS 211 การจัดการ การบริการอาหารและเครื่องดื่ม
XXX xxx วิชาเลือกทางภาษา 2
ชั้นปีที่ 3(35 หน่วยกิต)
ภาคการศึกษา 1
CAT 217 จริยธรรมและกฎหมายในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
CAT 314 อาหารฮาลาล และการปฏิบัติการครัวตามหลักศาสนาอิสลาม
CAL 314 ปฏิบัติการอาหารฮาลาล และการปฏิบัติการครัวตามหลัก ศาสนาอิสลาม
CAT 222 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการควบคุมคุณภาพ
CAL 222 ปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการควบคุมคุณภาพ
CAT xxx วิชาชีพเลือก 1
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 4 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
XXX xxx วิชาเลือกทางภาษา 3
CAT 491 โครงงาน 1
XXX xxx วิชาเลือกทางภาษา 3

ภาคการศึกษา 2
CAT 304 หลักการตลาดสำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
CAT 491 โครงงาน 1
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 5 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
CAT xxx วิชาชีพเลือก 2
CAT xxx วิชาชีพเลือก 3
XXX xxx วิชาเลือกทางภาษา 4

ภาคการศึกษา 3 (ฤดูร้อน)
CAT 391 การฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม 1
ชั้นปีที่ 4(16 หน่วยกิต)
CAT 412 วิทยาศาสตร์การประกอบอาหารและการตกแต่งอาหาร
CAL 412 ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การประกอบอาหารและการออกแบบ อาหาร
CAT 492 โครงงาน 2
CAT xxx วิชาชีพเลือก 4
XXX xxx วิชาเลือกเสรี 1
XXX xxx วิชาเลือกเสรี 1
XXX xxx วิชาเลือกเสรี 2

ภาคการศึกษา 2
CAT 495 การฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม 2


รายวิชาในกลุ่มวิชาชีพเลือก (โดยต้องเลือกจากกลุ่มวิชาเดียวกัน 12 หน่วยกิต)


1) กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีขนมอบ
CAT 331 การเตรียมและการอบขนมปัง
CAT 332 การเตรียมและการอบเค้ก สปอนช์ และคุ้กกี้
CAT 333 การแต่งหน้าและตกแต่งเค้ก
CAT 334 ศิลปะการทำขนมประเภทพาย
CAT 335 ศิลปะการทำไอศกรีม และของหวานเย็น
CAT 336 ศิลปะการทำช็อกโกเลต และลูกกวาด
2) กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารไทย
CAT 341 ศิลปะการประกอบเครื่องจิ้มไทย
CAT 342 ศิลปะการประกอบอาหารว่างไทย
CAT 343 ศิลปะการประกอบอาหารไทยชาววัง
CAT 344 ศิลปะการประกอบอาหารไทยประจำถิ่น
CAT 345 ศิลปะการประกอบอาหารริมบาทวิถี
CAT 346 การประกอบธุรกิจอาหารไทยในต่างแดน
CAT 347 ศิลปะการประกอบอาหารไทยผสานวัฒนธรรม
CAT 348 ศิลปะการประกอบขนมไทย
CAT 349 ศิลปะการประกอบอาหารไทยผสานวัฒนธรรม
3)กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารตะวันออก
CAT 352 ศิลปะการประกอบอาหารจีน
(Chinese Culinary Arts)
CAT 353 ศิลปะการประกอบอาหารอินเดีย
(Indian Culinary Arts)
CAT 354 ศิลปะการประกอบอาหารเวียดนาม
(Vietnamese Culinary Arts)
CAT 355 ศิลปะการประกอบอาหารอินโดนีเซียและมาเลเซีย
(Indonesia and Malaysia Culinary Arts)
CAT 356 ศิลปะการประกอบอาหารญี่ปุ่น
(Japanese Culinary Arts)
CAT 357 ศิลปะการประกอบอาหารเกาหลี
(Korean Culinary Arts)
CAT 358 อาหารเอเชียผสานวัฒนธรรม
(Asian Fusion Culinary Arts)
4)กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารตะวันตก
CAT 361 ศิลปะการประกอบอาหารอเมริกัน
(American Culinary Arts)
CAT 362 ศิลปะการประกอบอาหารอิตาเลียน
(Italian Culinary Arts)
CAT 363 ศิลปะการประกอบอาหารสเปน
(Spanish Culinary Arts)
CAT 364 ศิลปะการประกอบอาหารฝรั่งเศส
(French Culinary Arts)
CAT 365 ศิลปะการประกอบอาหารกรีก
(Greek Culinary Arts)
CAT 366 ศิลปะการประกอบอาหารเยอรมัน
(German Culinary Arts)
CAT 367 สุนทรียะและการคัดสรรไวน์และเนยแข็ง
(Wine and Cheese Appreciation and Selection)
5)กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารตามคติศาสนาอิสลาม
CAT 371 ศิลปะการประกอบอาหารไทยตามหลักศาสนาอิสลาม
(Thai Culinary Arts According to Islamic Faith)
CAT 372 ศิลปะการประกอบอาหารตะวันตกตามหลักศาสนาอิสลาม
CAT 373 ศิลปะการประกอบอาหารตะวันออกตามหลักศาสนาอิสลาม
(Oriental Culinary Arts according to Islamic Faith)
CAT 374 หลักการประกอบอาหารมุสลิมในภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้
(Principles of Cooking Muslim Food in South East Asia and South Asia Regions)
CAT 375 หลักการประกอบอาหารตะวันออกกลาง และอาหาร
(Principles of Cooking Middle Eastern and North African Foods)
CAT 376 หลักการจัดการครัวตามคติศาสนาอิสลาม
(Principles of Kitchen Management According to Islamic Faiths)
6)กลุ่มวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหารสำหรับความต้องการทางโภชนาการพิเศษ
CAT 381 การประกอบอาหารเจ และมังสวิรัติ
CAT 382 หลักการประกอบอาหารปราศจากกลูเต็น
(Principles of Gluten Free Cooking)
CAT 383 หลักการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
(Principles of Cooking for Health)
CAT 384 หลักการประกอบอาหารไม่ผ่านความร้อน
CAT 385 หลักการประกอบอาหารธรรมชาติ และอาหารอินทรีย์
(Principles of Cooking Whole Foods and Organic Foods)
CAT 386 ศิลปะการประกอบอาหารโพรไบโอติก
(Probiotic Culinary Arts)

: วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ | : COTH FC | : @Rangsit_tourism