RSU
หน้าแรก
วิสัยทัศน์
พันธกิจ
เป้าประสงค์
เกี่ยวกับวิทยาลัย
หลักสูตร
ปริญญาตรี
+ ท่องเที่ยวและการบริการ
+ โรงแรมและภัตตาคาร
+ ธุรกิจการบินและการขนส่ง
+ ศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร RSU Chef School
+ Hospitality Industry International Programme
หลักสูตรควบสองปริญญา
+ ท่องเที่ยวและการบริการ (มรส.) กับ บริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (สจล.)
+ ธุรกิจการบินและการขนส่ง (มรส.) กับ บริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (สจล.)
บุคลากร
+ โครงสร้างวิทยาลัย
+ ผู้บริหาร
+ สำนักงานเลขานุการวิทยาลัย
เกียรติคุณ
+ งานวิจัย
+ รางวัล
กิจกรรมนักศึกษา
ติดต่อวิทยาลัย
ภัตตาคาร The Atrium

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ศิลปศาสตรบัณฑิต (การจัดการโรงแรมและภัตตาคาร)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Arts (Hotel and Restaurant Management)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ศศ.บ. (การจัดการโรงแรมและภัตตาคาร)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.A. (Hotel and Restaurant Management)


จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

สาขาอาชีพด้านการโรงแรมและภัตตาคารเป็นหนึ่งในสาขาวิชาชีพที่มีข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement) เกี่ยวกับคุณภาพบุคลากร และมีการกำหนดกรอบการยอมรับสมรรถนะร่วมด้านการโรงแรม (ASEAN Common Competency Standard for Tourism Professionals - ACCSTP) ทำให้หลักสูตรจำเป็นที่จะต้องพัฒนาบัณฑิตให้มีสมรรถนะได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เพื่อสามารถเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี และแข่งขันกับแรงงานจากต่างประเทศได้อย่างเต็มที่

หลักสูตรได้พัฒนาเนื้อหาสาระในรายวิชาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำการสร้างหลักสูตรที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อให้ผู้เรียนสามารถได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากกระแสโลกาภิวัตน์ สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานสากลได้อย่างทัดเทียม

จุดเด่นของหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต คือ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติภายในห้องปฏิบัติการที่มีอุปกรณ์ครบครันและทันสมัยของมหาวิทยาลัยรังสิต สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้พบกับผู้บริหารจากสถานประกอบการที่มีประสบการณ์ตรงในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร โดยรูปแบบการเรียนการสอนเน้นการฝึกปฏิบัติ ส่งเสริมการฝึกงานในสถานประกอบการที่ได้รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งสถานประกอบการในประเทศและต่างประเทศ มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เป็นแนวทางเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนการแข่งขันทักษะวิชาชีพด้านโรงแรมและภัตตาคาร ในเวทีระดับสถาบัน และระดับชาติ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพที่ดีทั้งภายในและภายนอก มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรู้เป็นมาตรฐาน มีภูมิปัญญาท้องถิ่น และดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ พัฒนาตนเองด้านความรู้และทักษะวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ภาษา และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ความขัดแย้ง และมีแนวคิดธรรมาธิปไตยคือมีความเป็นธรรมและเท่าเทียมระหว่างชนชั้นทางสังคม

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว นักศึกษาจะได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) การจัดการโรงแรมและภัตตาคาร นักศึกษาจะมีโอกาสในการเข้าสู่การทำงานด้านการให้บริการ การปฏิบัติงาน และการบริหารในองค์กรระหว่างประเทศ ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจภัตตาคาร ธุรกิจการจัดเลี้ยง ธุรกิจเรือสำราญ ธุรกิจการจัดอาหารสำหรับการบริการสายการบิน ธุรกิจการประชุม การจัดนิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ธุรกิจบริการประเภทอื่นๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุ ธุรกิจสปา เป็นต้น

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร สามารถทำงานได้หลากหลาย ดังนี้

  1. งานธุรกิจโรงแรม (Hotel) ต้อนรับและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเข้าพักในโรงแรม ในตำแหน่งงานต่างๆ ของโรงแรม อาทิ ผู้จัดการโรงแรม ผู้จัดการแผนกต่างๆ พนักงานต้อนรับ พนักงานสำรองห้องพัก พนักงานให้บริการในห้องพัก (Butler) พนักงานทำความสะอาดห้องพักแขก พนักงานประกอบอาหาร พนักงานบริการในห้องอาหาร พนักงานผสมเครื่องดื่ม พนักงานฝ่ายการขายและการตลาด พนักงานแผนกทรัพยากรมนุษย์
  2. งานธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร (Restaurant) ประกอบธุรกิจให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม หรือให้บริการในภัตตาคาร/ร้านอาหาร อาทิ พนักงานประกอบอาหาร พนักงานบริการในห้องอาหาร พนักงานผสมเครื่องดื่ม พนักงานจัดซื้อวัตถุดิบ
  3. งานบริการเรือสำราญ (Cruise Tourism) ตำแหน่งงานต่างๆ บนเรือสำราญ อาทิ พนักงานต้อนรับ พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานทำความสะอาดห้องพักแขก พนักงานผสมเครื่องดื่ม พนักงานประกอบอาหาร
  4. งานธุรกิจการจัดเลี้ยง (Catering) ตำแหน่งงานต่างๆ อาทิ พนักงานฝ่ายการขายงานจัดเลี้ยง พนักงานบริการ พนักงานประกอบอาหารสำหรับงานจัดเลี้ยงหรือจัดอาหารสำหรับบริการสายการบิน
  5. งานธุรกิจการประชุม การจัดนิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (MICE) ปฏิบัติงานในการประสานงานและเป็นผู้วางแผนงานประชุมและจัดนิทรรศการในโรงแรม รีสอร์ท ศูนย์ประชุมและสถานที่อื่นๆ
  6. งานอุตสาหกรรมบริการ (Hospitality Industry) การประกอบกิจกรรมเพื่อให้เกิดความพึงพออำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการ
  7. งานด้านการต้อนรับและการบริการในธุรกิจบริการอื่นๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุ ธุรกิจสปา
  8. งานในองค์กรและหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  9. การเป็นเจ้าของ/ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร/ร้านอาหาร ธุรกิจจัดเลี้ยง (Entrepreneurship)
  10. งานการเงิน/บัญชีในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

รับผู้สมัครที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรอาชีวศึกษา หลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.) และตามประกาศของมหาวิทยาลัยรังสิต

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตร 4 ปี มีหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต










แผนการศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร (126 หน่วยกิต)
ชั้นปีที่ 1 (42 หน่วยกิต)

ภาคการศึกษา S
RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย
THA 126 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
ENL 125 ภาษาอังกฤษเพื่อทัศนาโลก

ภาคการศึกษาที่ 1
ENL 126 ภาษาอังกฤษในบริบทของเทคโนโลยี การบันเทิงและการออกแบบ
RSU 160 รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
RSU 171 วิถีสุขภาพดีมีสุข
RSU 181 นันทนาการ
HOS 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
HOS 110 การพัฒนาบุคลิกภาพและศิลปะการต้อนรับ

ภาคการศึกษาที่ 2
ENL 128 การนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ
RSU 154 แนวคิดการประกอบการในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
RSU 240 ศิลปะการทำงานต่างวัฒนธรรม
RSU 112 กีฬาเพื่อสุขภาพ
HOS 102 จิตวิทยาบริการและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
HOS 111 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรม
ชั้นปีที่ 2 (36 หน่วยกิต)

ภาคการศึกษาที่ 1
HOS 220 พฤติกรรมผู้บริโภคสำหรับอุตสาหกรรมบริการ
HOS 221 การจัดการการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
HOS 222 การจัดการการบริการส่วนหน้า
HOS 224 การบัญชีสำหรับธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร
XXX xxx วิชาภาษาต่างประเทศเพื่องานอาชีพ (1)
XXX xxx วิชาภาษาต่างประเทศเพื่องานอาชีพ (2)

ภาคการศึกษาที่ 2
HOS 223 การจัดการการบริการแม่บ้าน
HOS 225 กฎหมายและจริยธรรมสำหรับธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร
HOS 226 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร
HOS 245 การสื่อสารในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
XXX xxx วิชาภาษาต่างประเทศเพื่องานอาชีพ (3)
XXX xxx วิชาภาษาต่างประเทศเพื่องานอาชีพ (4)


ชั้นปีที่ 3 (36 หน่วยกิต)

ภาคการศึกษาที่ 1
HOS 343 การควบคุมอาหารและเครื่องดื่ม
HOS 345 การสื่อสารขั้นสูงในธุรกิจโรงแรม
HOS 348 การจัดการการตลาดสำหรับธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร
HOS xxx วิชาความสนใจเฉพาะ (1)*
HOS xxx วิชาความสนใจเฉพาะ (2)*
XXX xxx วิชาภาษาต่างประเทศเพื่องานอาชีพ (5)

ภาคการศึกษาที่ 2
HOS 344 การจัดการงานบริการจัดเลี้ยง
HOS 347 การจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจโรงแรม
HOS xxx วิชาความสนใจเฉพาะ (3)*
HOS xxx วิชาความสนใจเฉพาะ (4)*
HOS xxx วิชาความสนใจเฉพาะ (5)*
XXX xxx วิชาเลือกเสรี (1)
* นักศึกษาเลือกเรียน 1 กลุ่ม จาก 2 กลุ่มด้านล่าง โดยต้องผ่านการทดสอบสัมฤทธิผลทางภาษาอังกฤษแบบ TOEIC ไม่ต่ำกว่า 300 คะแนนหรือเทียบเท่าก่อนจึงจะสามารถเรียนรายวิชาชีพเลือกได้


ชั้นปีที่ 4 (21 หน่วยกิต)

ภาคการศึกษาที่ 1
HOS 446 สัมมนาในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
HOS 492 การเตรียมความพร้อมการฝึกปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรม และภัตตาคาร
XXX xxx วิชาเลือกเสรี (2)

ภาคการศึกษาที่ 2
HOS 493 การฝึกปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร**
(ฝึกงานระยะเวลา 4 เดือน ในภาคการศึกษาปกติ ณ สถานประกอบการ)
** เมื่อฝึกงานแล้วนักศึกษาต้องมีผลทดสอบสัมฤทธิผลทางภาษาอังกฤษแบบ TOEIC ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนนหรือเทียบเท่าเพื่อสำเร็จการศึกษา


หมายเหตุ:
1. หลักสูตรมีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ทั้งในและต่างจังหวัดตลอดหลักสูตร
2. วิชาภาษาต่างประเทศเพื่องานอาชีพ เลือกจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจาก 5 กลุ่มภาษา ได้แก่ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มวิชาภาษาฝรั่งเศส กลุ่มวิชาภาษาจีน กลุ่มวิชาภาษาญี่ปุ่น และกลุ่มวิชาภาษาเกาหลี

กลุ่มวิชาความสนใจเฉพาะ (เลือกเรียน 15 หน่วยกิต)

ให้นักศึกษาเลือกศึกษาจากรายวิชาในกลุ่มวิชาความสนใจเฉพาะต่อไปนี้ โดยต้องเลือกจากกลุ่มวิชาเดียวกัน 15 หน่วยกิต หรือเลือกจากทั้ง 3 กลุ่มวิชาก็ได้ แต่ต้องเลือกจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างน้อย 9 หน่วยกิต ส่วนที่เหลือให้เลือกจากกลุ่มอื่นได้



กลุ่มวิชาการโรงแรม
HOS 361 งานประชาสัมพันธ์โรงแรม
HOS 365 การจัดดอกไม้สำหรับธุรกิจโรงแรม
HOS 366 การจัดการสิ่งแวดล้อมในธุรกิจโรงแรม
HOS 367 การจัดการสปาและศูนย์ออกกำลังกาย
HOS 460 การศึกษาอิสระในธุรกิจที่พักแรม
HOS 465 การตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจโรงแรม
HOS 466 การออกแบบและการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม
HOS 467 การจัดการคุณภาพการบริการในโรงแรม
HOS 468 การจัดการธุรกิจที่พักทางเลือก


กลุ่มวิชาภัตตาคาร
HOS 370 การจัดการงานบริการบาร์
HOS 372 ศิลปะการประกอบอาหารนานาชาติ
HOS 373 ศิลปะการทำขนมอบ
HOS 374 สุขาภิบาลอาหาร ความสะอาด และความปลอดภัยในครัว
HOS 471 ศิลปะการประกอบอาหารไทย
HOS 472 ศิลปะการทำขนมไทย
HOS 473 การออกแบบตกแต่งอาหาร
HOS 474 ศิลปะการแกะสลักผักและผลไม้
HOS 475 การจัดการครัว
HOS 476 การจัดการภัตตาคาร


กลุ่มวิชาการให้บริการบนเรือสำราญ
HOS 380 การจัดการทั่วไปบนเรือสำราญ
HOS 381 กฎหมายและความปลอดภัยบนเรือสำราญ
HOS 382 การจัดการสถานที่และกิจกรรมบนเรือสำราญ
HOS 383 โลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเรือสำราญ
HOS 384 การจัดการและการบริการลูกค้าเฉพาะกลุ่มในเรือสำราญ


หมายเหตุ:
1. หลักสูตรมีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ทั้งในและต่างจังหวัดตลอดหลักสูตร
2. วิชาเลือกทางภาษา เลือกจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจาก 5 กลุ่มภาษา ได้แก่ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มวิชาภาษาฝรั่งเศส กลุ่มวิชาภาษาจีน กลุ่มวิชาภาษาญี่ปุ่น และกลุ่มวิชาภาษาเกาหลี


: วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ | : COTH FC | : @Rangsit_tourism