RSU
หน้าแรก
วิสัยทัศน์
พันธกิจ
เป้าประสงค์
เกี่ยวกับวิทยาลัย
หลักสูตร
ปริญญาตรี
+ ท่องเที่ยวและการบริการ
+ โรงแรมและภัตตาคาร
+ ธุรกิจการบินและการขนส่ง
+ ศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร RSU Chef School
+ Hospitality Industry International Programme
หลักสูตรควบสองปริญญา
+ ท่องเที่ยวและการบริการ (มรส.) กับ บริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (สจล.)
+ ธุรกิจการบินและการขนส่ง (มรส.) กับ บริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (สจล.)
บุคลากร
+ โครงสร้างวิทยาลัย
+ ผู้บริหาร
+ สำนักงานเลขานุการวิทยาลัย
เกียรติคุณ
+ งานวิจัย
+ รางวัล
กิจกรรมนักศึกษา
ติดต่อวิทยาลัย
ภัตตาคาร The Atrium

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Business Administration (Aviation Business and Transport Management)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): บธ.บ. (การจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.B.A. (Aviation Business and Transport Management)


จุดเด่นของหลักสูตร

มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่เปิดสอนศาสตร์การจัดการธุรกิจการบินในระดับปริญญาตรี มาตั้งปีการศึกษา 2544 จากการเริ่มเปิดเป็นวิชาโทในหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวฯ และได้ยกระดับความเข้มข้นขึ้นเป็นสาขาวิชาเอกในปี พ.ศ. 2549 มาจนถึงปัจจุบัน

จุดเด่นของหลักสูตร คือ การจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานองค์กรวิชาชีพด้านการบินในระดับสากล เน้นการฝึกปฏิบัติในเนื้องานที่เป็นทักษะเฉพาะด้าน ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรตามหลักคุณธรรมจริยธรรมและข้อปฏิบัติในวิชาชีพ อาทิ การใช้ความรู้และทักษะตามสถานการณ์ การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารด้านการบิน การมีความอ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้คน การปฏิบัติงานภายใต้ภาวะความกดดันและข้อจำกัด รวมทั้งการรู้เท่าทันต่อภัยคุกคามของการขนส่งทางอากาศทั้งการจัดการความปลอดภัยและการรับมือกับการแพร่ระบาดที่คุกคามอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบัน

เนื้อหาหลักสูตร จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญคือ พื้นฐานความรู้ทางการบริหารธุรกิจ ความรู้มาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการขนส่งทางอากาศ และขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ ทั้งการขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า การจัดการเทคโนโลยีและอำนวยการบิน รวมถึงทักษะเฉพาะด้าน อาทิ ด้านภาษา ด้านการบริการและ ด้านเทคโนโลยี ที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมการบินและการขนส่งในปัจจุบัน

แนวทางการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
  1. งานบริการสายการบินแบบประจำ (Scheduled Airlines) การบริการการบินเชิงธุรกิจ (Business Aviation) อาทิ แท็กซี่อากาศ การบินส่วนบุคคล
  2. งานในส่วนของการอำนวยการบิน การปฏิบัติการบินในส่วนปฏิบัติการและการดำเนินงานในท่าอากาศยานและลานจอดอากาศยาน
  3. งานบริษัทการขนส่งสินค้าทางอากาศ
  4. งานบริการไปรษณีย์อากาศแบบเบ็ดเสร็จ (Air Courier)
  5. งานตัวแทนการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Freight Forwarder)
  6. งานบริษัทบริการการบิน (Ground Handling Agent)
  7. งานตัวแทนขายสายการบินทั้งไทยและต่างชาติ ณ เมืองต่างๆ (General Sales Agent-GSA)
  8. งานตัวแทนทางการท่องเที่ยวด้านการขายบัตรโดยสารและการสำรองที่นั่ง (Travel Agency)
  9. ตัวแทนขายสินค้าทางการท่องเที่ยวออนไลน์ (OTAs-Online Travel Agent)
  10. งานด้านการตลาดและการขายบัตรโดยสาร/การสำรองที่นั่งสายการบิน
  11. งานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเดินทางในองค์กรธุรกิจทั่วไป
  12. งานพิธีการนำเข้า-ส่งออกและสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร เพื่อการจัดแสดงสินค้าระหว่างประเทศ
  13. งานในภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ และองค์กรการบิน
  14. งานธุรกิจด้านการบริการและการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางอากาศ และโลจิสติกส์
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าและมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้ารับศึกษา
  2. ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยรังสิต
  3. ม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือถูกไล่ออกจากสถาบันอุดมศึกษาใดๆ เพราะความผิดทางวินัย
  4. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  5. ไม่เคยต้องโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
โครงสร้างหลักสูตร
เรียนจบภายใน 3 ปี หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 123 หน่วยกิต (42 วิชา + 1 ฝึกงาน) ประกอบด้วย
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (พื้นฐานความรู้ทั่วไป) 30 หน่วยกิต
2.หมวดวิชาเฉพาะ 87 หน่วยกิต
ประกอบด้วย
2.1 วิชาพื้นฐานวิชาชีพ (บริหารธุรกิจ) 18 หน่วยกิต
2.2 วิชาชีพ 69 หน่วยกิต
   2.2.1 วิชาชีพ-บังคับ (ธุรกิจการบิน + ฝึกงาน) 54 หน่วยกิต
   2.2.2 วิชาชีพ-เลือก (ทักษะอาชีพ) 15 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี (เลือกตามความสนใจ) 6 หน่วยกิต
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

270,000 บาท (โดยประมาณ)

หมายเหตุ* ขึ้นอยู่กับการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา และคำแนะนำจากสาขาวิชาฯ









 



แผนการศึกษา
ชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษา S
RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย
ENL 125 ภาษาอังกฤษเพื่อทัศนาโลก
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 1 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
ภาคการศึกษา 1
ATM 101 พื้นฐานธุรกิจการบินและการขนส่ง
ENL 126 ภาษาอังกฤษในบริบทของเทคโนโลยี การบันเทิง และการออกแบบ
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 2 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 3 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 4 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
RSU 112 กีฬาเพื่อสุขภาพ
ACC 100 การบัญชีการเงิน
ภาคการศึกษา 2
ATM 103 การบริการลูกค้าในธุรกิจการบินและการขนส่ง
DBS 201 เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับธุรกิจ
ECO 111 หลักเศรษฐศาสตร์
ACC 103 การบัญชีเพื่อการจัดการ
RSU xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป 5 (จากกลุ่มที่ 3 ถึง กลุ่มที่ 8)
XXX xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาภาษานานาชาติและประสบการณ์ ระหว่างประเทศ (1) (จากกลุ่มที่ 2.2)
XXX xxx รายวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาภาษานานาชาติและประสบการณ์ ระหว่างประเทศ (2) (จากกลุ่มที่ 2.2)
ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษา S
XXX xxx วิชาเลือกเสรี (1)
XXX xxx วิชาเลือกเสรี (2)
FIN 201 การเงินธุรกิจ
ภาคการศึกษา 1
ATM 201 กฎหมายการบินและจรรยาบรรณธุรกิจ
ATM 203 การจัดการธุรกิจสายการบิน
ATM 204 การจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศและการกระจายสินค้า
ATM 208 การอำนวยการบินและระบบการจราจรทางอากาศ
ATM 209 หลักการตลาดสำหรับธุรกิจการบินและการขนส่ง
ATM 268 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการบินและการขนส่ง 1
LSM 203 การวิเคราะห์สถิติทางธุรกิจ
ภาคการศึกษา 2
ATM 205 การจัดการท่าอากาศยาน
ABM 210 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักและความสมดุลของอากาศยาน
ATM 269 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการบินและการขนส่ง 2
ATM 300 พฤติกรรมผู้บริโภคและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในธุรกิจการบินและการขนส่ง
ATM 301 ระบบสารสนเทศในธุรกิจการบินและการขนส่ง
ATM 304 การจัดการความปลอดภัยในธุรกิจการบินและการขนส่ง
ATM 310 การจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการบินและการขนส่ง
ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษา 1
XXX xxx วิชาชีพ-เลือก (1)*
XXX xxx วิชาชีพ-เลือก (2)*
XXX xxx วิชาชีพ-เลือก (3)*
XXX xxx วิชาชีพ-เลือก (4)*
XXX xxx วิชาชีพ-เลือก (5)*
ATM 410 วิธีวิทยาการวิจัยในธุรกิจการบินและการขนส่ง
ATM 412 สัมมนายุทธศาสตร์ในธุรกิจการบินและการขนส่ง
ATM 497 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพธุรกิจการบินและการขนส่ง
ภาคการศึกษา 2
ATM 499 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพธุรกิจการบินและการขนส่ง ** (ฝึกงาน 4 เดือน ใน 1 ภาคการศึกษาปกติ หรือไม่น้อยกว่า 640 ชั่วโมง ต่อ 4 เดือน)

** เมื่อฝึกงานเสร็จสิ้นเป็รที่เรียบร้อยแล้ว ต้องมีสัมฤทธิผล ทางภาษาอังกฤษ แบบ TOEIC ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนนหรือเทียบเท่า เพื่อสำเร็จการศึกษา


* วิชาชีพ-เลือก เลือกรายวิชาในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจาก กลุ่มวิชาการจัดการงานบริการผู้โดยสารเพื่อการขนส่ง หรือ กลุ่มวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ หรือ กลุ่มวิชาการจัดการเทคโนโลยีอำนวยการบินและการขนส่ง จำนวน 3 รายวิชาและเลือกผสมรายวิชาจากกลุ่มวิชาชีพ-เลือกอื่นๆ ได้อีก 2 รายวิชา โดยต้องผ่านการทดสอบสัมฤทธิผลทางภาษาอังกฤษ แบบ TOEIC ไม่ต่ำกว่า 300 คะแนน หรือเทียบเท่าก่อนลงทะเบียนเรียนรายวิชาชีพ-เลือก

กลุ่มวิชาการจัดการงานบริการผู้โดยสารเพื่อการขนส่ง

ATM 312 การจัดการงานบริการและผลิตภัณฑ์สำหรับเที่ยวบิน
ATM 313 งานบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน
ATM 315 ภาษาอังกฤษเพื่อการบริการผู้โดยสาร
ATM 317 การจัดการธุรกิจการบินทั่วไปและการเช่าเหมาลำ
ATM 318 การจัดการบริการลานจอด
ATM 319 การจัดการและการปฏิบัติการของสายการบินต้นทุนต่ำ
ATM 334 การบริการผู้โดยสารในอาคารและการจัดการท่าเรือ
ATM 335 การขนส่งผู้โดยสารทางรางเพื่อการเดินทางระหว่างประเทศ

กลุ่มวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์

ATM 320 การปฏิบัติการตัวแทนการขนส่งสินค้า
ATM 323 การควบคุมน้ำหนักและความสมดุลของอากาศยาน และการใช้อุปกรณ์ส่วนควบ
ATM 325 พิธีการทางศุลกากรและการรับสินค้า
ATM 423 การจัดการการขนส่งสินค้าพิเศษ
ATM 424 ระบบการจัดการคลังสินค้าทางอากาศ
ATM 425 การจัดการการขนส่งสินค้าอันตราย
ATM 426 การจัดการคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อการนำเข้าและส่งออก
ATM 427 การจัดการการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ

กลุ่มวิชาการจัดการเทคโนโลยีอำนวยการบินและการขนส่ง

ATM 341 กฎการบินและการเดินอากาศเพื่อการวางแผนการบิน
ATM 343 อุตุนิยมวิทยาด้านการบินและการแปลความ สำหรับการวางแผนการบิน
ATM 344 การวางแผนในลานจอดเพื่อการปฏิบัติการบิน
ATM 445 อากาศยานพาณิชย์และเทคโนโลยีการบิน สำหรับการวางแผนการบิน
ATM 446 แผนการบินเชิงปฏิบัติการ
ATM 447 แนวโน้มเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการบินและการประยุกต์ใช้

: วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ | : COTH FC | : @Rangsit_tourism